Skip to main content
search

“บาตร” หนึ่งใน 8 อัฐบริขารที่สำคัญในพุทธศาสนา #เกร็ดความรู้ด้านพระพุทธศาสนา

บาตร ภาชนะใส่อาหารสำหรับพระภิกษุสามเณร ถือว่าเป็นของใช้ที่มีความสำคัญสำหรับสงฆ์เป็นอย่างมาก และเป็นหนึ่งในอัฐบริขาร 8 อย่าง ที่บัญญัติไว้ในพระธรรมวินัย ได้แก่ สบง(ผ้านุ่ง) จีวร(ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) ประคดเอว บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม และกระบอกกรองน้ำ

บาตรมี 2 ชนิด คือ บาตรดินเผา และบาตรเหล็กรมดำ โดยมีขนาดตั้งแต่ 7-11 นิ้ว และพระพุทธองค์ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุใช้บาตรที่ทำจากวัสดุที่มีค่าเช่น เงิน ทอง ทองเหลือง ทองแดง

ในปัจจุบัน วัดส่วนใหญ่อนุโลมให้ใช้บาตรที่ทำจากสแตนเลส เนื่องจากทำความสะอาดง่ายและสะดวกต่อการดูแล ส่วนฝาบาตรในสมัยก่อนนั้นทำจากไม้หรือไม้ไผ่ ก็เปลี่ยนมาใช้เป็นฝาสแตนเลสแทน แต่ในบางที่ในภาคอีสานยังใช้ฝาบาตรที่ทำจากไม้อยู่

ถุงใส่บาตรที่มีสายสำหรับคล้องบ่า เรียกว่า ถลกบาตร หรือ ตลกบาตร เป็นคำเรียกรวม เมื่อแยกส่วนออกจะมีส่วนประกอบคือ
• สายโยก คือ สายของตลกบาตร สำหรับคล้องบ่า
• ตะเครียว คือ ถุงตาข่ายที่ถักด้วยด้ายหรือไหมเป็นตาโปร่งมีหูรูด หุ้มตลกบาตรอีกชั้นหนึ่ง

เรียบเรียงโดย : นายสันติ ไชยสลี นายศุภาวุฒิ อาวุธปัญญากุล และอาจารย์สุชาดา ท้าวลอม
ข้อมูลจาก http://bitly.ws/B8I5 และ http://bitly.ws/B8HN
ขอบคุณภาพจาก : เพจ MultimediaCPC
กิจกรรมประกอบการเรียนวิชา : การเล่าเรื่องดิจิทัล/ความคิดเชิงสร้างสรรค์
บูรณาการจากกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม “โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย” จัดโดย คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2566

admin คณะบริหารธุรกิจฯ

Close Menu